วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

คีตกวีไทย


คีตกวีไทย
             พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก)
             พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
              พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต)
พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก)

คีตกวีในสมัยรัชกาลที่ 3 ถึง รัชกาลที่ 5 เป็นคีตกวีคนแรกที่นำเพลง 2 ชั้น มาทำเป็นเพลงสามชั้น มีความสามารถในการแต่งเพลง และฝีมือในทางเป่าปี่ เป็นเยี่ยม โดยเฉพาะเพลงเด่นที่สุดคือ "ทยอยเดี่ยว" บ้างเรียกท่านว่า "เจ้าแห่งเพลงทยอย" ซึ่งหมายถึงเพลงที่มีเทคนิคการบรรเลงและลีลาที่พิสดาร โดยเฉพาะลูกล้อ ลูกขัด
         อีกเพลงหนึ่งคือเพลง "เชิดจีน" เป็นเพลงที่ให้อารมณ์สนุกสนาน มีลูกล้อลูกขัด ที่แปลกและพิสดาร ท่านแต่งบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งได้รับการโปรดปรานมาก จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระประดิษฐ์ไพเราะ  "บทเพลงจากการประพันธ์ของท่านคือ เพลงจีนแส อาเฮีย แป๊ะ ชมสวนสวรรค์ การะเวกเล็ก แขกบรเทศ แขกมอญ ขวัญเมือง เทพรัญจวน พระยาโศก จีนขิมเล็ก เชิดในสามชั้น (เดี่ยว) ฯลฯ
พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)

"ครูแปลก" เกิดที่หลังวังกรมพระสมมตอมรพันธ์ เป็นศิษย์คนหนึ่งของครูช้อย สุนทรวาทิน ท่านเคยได้บรรเลงเดี่ยวขลุ่ยถวายต่อหน้า สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียที่พิพิธภัณฑ์เมืองริมบลีย์ จนถึงกับถูกขอให้ไปเป่าถวายในพระราชวังบักกิงแฮมต่อด้วย
          ครูแปลกเป็นคนติดเหล้าอย่างหนัก แต่ไม่เคยเมาต่อหน้าศิษย์ ได้เป็นครูสอนวงเครื่องสายหญิงของเจ้าดารารัศมี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ครั้งแรกเป็นขุนประสานดุริยศัพท์ จนได้เป็นพระยาประสานดุริยศัพท์ใน พ.ศ. 2458 ท่านเคยเป่าปี่เพลงทยอยเดี่ยวในพระประดิษฐ์ไพเราะฟัง ถึงกับได้รับคำชมว่า "เก่งไม่มีใครสู้"
นอกจากท่านจะเชี่ยวชาญปี่และขลุ่ยแล้ว ยังเก่งพวกเครื่องหนังด้วย ขนาดสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภานณุพัธุวงศ์วรเดชตรัสชมว่า "ไม่ใช่คนนี่.. ไอ้นี่มันเป็นเทวดา" ท่านเป็นอาจารย์ของศิษย์ชั้นครูมากมาย เช่นพระเพลงไพเราะ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ พระยาภูมิเสวิน อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นต้น
          ผลงานเพลงที่สำคัญได้แก่ เพลงเขมรปากท่อเถา เขมรราชบุรีสามชั้น ธรณีร้องไห้สามชั้น (ธรณีกันแสง) พม่าห้าท่อนสามชั้น วิเวกเวหาสามชั้น แขกเชิญเจ้าสองชั้น
พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต)

ครูโสม เกิดที่ฝั่งธนบุรี เริ่มเรียนระนาดลิเกจากน้าชาย จากนั้นได้เข้าร่วมเป็นนักดนตรีในกองดนตรีของสมเด็จพระบรม (รัชกาลที่ 6) เป็นคนตีระนาดหน้าฉากเวลาละครเปลี่ยนฉาก มีฝีมือในทางระนาดเป็นเยี่ยม ถึงขนาดเคยตีเอาชนะนายชิน ชาวอัพวา ซึ่งเป็นระนาดมือหนึ่งในสมัยนั้นมาแล้ว
          นอกจากนั้นยังสามารถตีรับลิเกในเพลงที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนได้ด้วย จนพระยาประสานดุริยศัพท์ชมว่า "โสมแกเก่งมาก ครูเองยังจนเลย"
ครั้งหนึ่งเคยได้ตีระนาดเพลงกราวในถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งทรงพระประชวรให้บรรทม ครั้นตื่นพระบรรทมก็ทรงชมว่า "โสม เจ้ายังตีฝีมือไม่ตกเลย" นับว่าการตีปี่พาทย์ประกอบโขนละครในสมัยนั้น (รัชกาลที่ 5-7) ไม่มีใครสู้ครูโสมได้
          ท่านได้บรรดาศักดิ์เป็นพระ เมื่อ พ.ศ.2460 และถึงแก่กรรมเพราะซ้อมระนาดหนักจนพักผ่อนไม่เพียงพอ และทานอาหารไม่เป็นเวลาจนเป็นโรคกระเพาะ รวมอายุได้ 49 ปี


วงดนตรีไทย


ประเภทวงดนตรีไทย
ž             วงปี่พาทย์
ž             วงเครื่องสาย
ž             วงมโหรี

วงปี่พาทย์
ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นสำคัญ เช่น ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าเป็นประธานได้แก่ ปี่ นอกจากนั้นเป็นเครื่อง วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี,วงปี่พาทย์ไม้แข็ง,วงปี่พาทย์เครื่องห้า,วงปี่พาทย์เครื่องคู่,วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่,วงปี่พาทย์ไม้นวม,วงปี่พาทย์มอญ,วงปี่พาทย์นางหงส์ 

วงเครื่องสาย
เครื่องสาย ได้แก่ เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว,วงเครื่องสายเครื่องคู่,วงเครื่องสายผสม,วงเครื่องสายปี่ชวา
 
วงมโหรี
ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรีเครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่,วงมโหรีเครื่องหก,วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก,วงมโหรีเครื่องคู่

เครื่องเป่า


เครื่องเป่า
เครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงจากลมเป่า อุปกรณ์ดังเดิมได้จากพืช ได้แก่หลอดไม้ต่าง ๆ และจากสัตว์ ได้แก่ เขาสัตว์ต่างๆ ต่อมาได้มีวิวัฒนาการด้วยการเจาะรูและทำลิ้น เพื่อให้เกิดระดับเสียงได้มาก เช่น  ขลุ่ย ปี่
ขลุ่ย
ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง และงาช้าง แต่ที่ทำจากไม้รวกจะให้เสียงนุ่มนวล ไพเราะกว่า ขลุ่ยมี ๕ ชนิด คือ ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยนก ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลีบ และขลุ่ยอู้
ชนิดของขลุ่ย
ž             1.ขลุ่ยหลิบ หรือ ขลุ่ยหลีก
ž             2.ขลุ่ยเพียงออ
ž             3.ขลุ่ยอู้
ž             4.ขลุ่ยเคียงออ หรือ ขลุ่ยกรวด
ž             5.ขลุ่ยรองออ
ž             6.ขลุ่ยออร์แกน
ž             7.ขลุ่ยนก

ขลุ่ยหลิบ หรือ ขลุ่ยหลีก
ขลุ่ยหลิบ หรือ ขลุ่ยหลีก เป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาขลุ่ยไทยมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออเป็นคู่สี่ คือปิดหมดทุกนิ้วเป่าเป็นเสียงฟา นิยมใช้เป่าในวงมโหรีเครื่องคู่ เครื่องใหญ่ และวงเครื่องสายคู่ โดยเป็นเครื่องนำในวงเช่นเดียวกับระนาด หรือซอด้วง นอกจากนี้ยังใช้ในวงเครื่องสายปี่ชวา โดยบรรเลงเป็นพวกหลังเช่นเดียวกับซออู้
 
ขลุ่ยเพียงออ
ขลุ่ยเพียงออ เป็นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องเป่าชนิดไม่มีลิ้น ทำจากไม้รวกปล้องยาวๆ ด้านหน้าเจาะรูเรียงกัน สำหรับปิดเปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง ตรงที่เป่าไม่มีลิ้นแต่มีดาก ซึ่งทำด้วยไม้อุดเหลาเป็นท่อนกลมๆยาวประมาณ ๒ นิ้ว สอดลงไปอุดที่ปากของขลุ่ย แล้วบากด้านหนึ่งของดากเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ เราเรียกว่า ปากนกแก้ว เพื่อให้ลมส่วนหนึ่งผ่านเข้าออกทำให้เกิดเสียงขลุ่ยลมอีกส่วนจะวิ่งเข้าไปปลายขลุ่ยประกอบกับนิ้วที่ปิดเปิดบังคับเสียงเกิดเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการไตปากนกแก้วลงมาเจาะ ๑ รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ
 
ขลุ่ยอู้
ขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร เสียงต่ำกว่าขลุ่ยเพียงออสามเสียง คือปิดหมดทุกรูเป็นเสียงซอล นิยมใช้ในเครื่องปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งเป็นดนตรีที่มีระดับเสียงต่ำ แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้เนื่องจากหาคนที่มีความชำนาญในการเป่าได้ยาก

 ขลุ่ยเคียงออ
ขลุ่ยเคียงออ หรือ ขลุ่ยกรวด เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่กว่าขลุ่ยหลิบแต่เล็กกว่าขลุ่ยเพียงออ มีความยาวประมาณ 40 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.2 เซนติเมตร ระดับเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออหนึ่งเสียง แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมมากนัก

ขลุ่ยรองออ
ขลุ่ยรองออ เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่กว่าขลุ่ยเพียงออและมีระดับเสียงต่ำกว่าหนึ่งเสียง อาจจะใช้ในวงมดหรีแทนขลุ่ยเพียงออในกรณีที่เต้องการเสียงต่ำ

ขลุ่ยออร์แกน
ขลุ่ยออร์แกน เกิดขึ้นเนื่องจากในระยะหลังวงเครื่องสายได้นำเอาเครื่องดนตรีตะวันตกเข้ามาร่วมเล่นด้วย ซึ่งเรียกว่าวงเครื่องสายผสม เช่น เล่นผสมกับเปียโนหรือออร์แกน เป็นต้น

ขลุ่ยนก
ขลุ่ยนก ขลุ่ยชนิดนี้ใช้เป่าเป็นเพลงไม่ได้ เพราะมีเสียงไม่ครบเสียงดนตรี จึงใช้เป่าเป็นเสียงนกประกอบเพลงที่มีเสียงนก เช่น เพลงตับนก แม่ศรีทรงเครื่อง เป็นต้น
 
ชนิดของขลุ่ยนก
                    ขลุ่ยนกกางเขน ไม่มีรูนับเสียงรูปร่างลักษณะเป้นกระบอกไม้รวก ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร และมีหลอดไม้ซางกลมๆ ขนาดพอๆ กับหลอดกาแฟ เป็นที่เป่าเสียบติดทะลุด้านข้างด้านหนึ่งของกระบอกเสียง เวลาเป่าต้องใส่น้ำลงในกระบอกให้ปลายหลอดส่วนล่างอยู่ในน้ำจึงจะเกิดเสียง
                    ขลุ่ยนกโพระดก หรือ ขลุ่ยโฮกป๊ก ไม่มีรูนับเสียงเช่นเดียวกับขลุ่ยนกกางเขนรูปร่างลักษณะเป็นกระบอกไม้รวก ยาวประมาณ 18 เซนติเมตร กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร เวลาเป่าต้องใช้ฝ่ามืออีกข้างหนึ่งอุดปลายส่วนล่างไว้จึงจะเป่าเป็นเสียง "โฮกป๊ก"
                    ขลุ่ยนกกาเหว่า มีลักษณะเหมือนกับขลุ่ยเพียงออทุกประการ ถ้านำมาตัดเป็น 2 ท่อนให้เหลือรูนับไว้ 4 รูบน ก็จะได้ขลุ่ยนกกาเหว่า เวลาเป่าจะเป็นเสียง "กาเหว่า" ขั้นแรกเอานิ้วมือปิดรูนับทั้ง 4 รู และปิดนิ้วหัวแม่มือที่อยู่ด้านล่าง แล้วเป่าจะได้เสียง "กา" และหากเปิดนิ้วชี้บน นิ้วกลางบน นิ้วนางบน และนิ้วหัวแม่มือด้านล่าง พร้อมกับเป่าก็จะได้เสียง "เหว่า" เป็น "กาเหว่า"
ปี่
            ปี่ ทำด้วยไม้จริง กลึงให้เป็นรูปบานหัวบานท้าย ตรงกลางป่อง เจาะภายในให้กลวงตลอดเลา ทางหัวของปี่เป็นช่องรูเล็ก ส่วนทางปลายของปี่ปากรูใหญ่  ตอนกลางของปี่เจาะรูนิ้วสำหรับเปลี่ยนเสียงลงมาจำนวน 6 รู แต่สามารถเป่าได้เสียงตรง 24 เสียง กับเสียงควงหรือเสียงแทนอีก 8 เสียง รวมเป็น 32 เสียง
 
ชนิดของปี่
ž             ปี่นอก มีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 31 ซม. กว้าง 3.5 ซม. เป็นปี่ที่ใช้กันมาแต่เดิม เสียงของปี่นอกจะมีเสียงที่เล็กแหลม
ž             ปี่กลาง มีขนาดกลาง ยาวประมาณ 37 ซม. กว้างประมาณ 4 ซม. สำหรับเล่นประกอบการแสดงหนังใหญ่ มีสำเนียงเสียงอยู่ระหว่าง ปี่นอก กับปี่ใน เสียงของปี่กลางจะ ไม่แหลมหรือว่าต่ำเกินไปแต่จะอยู่ในระดับปานกลาง
ž             ปี่ใน มีขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 41 42 ซม. กว้างประมาณ 4.5 ซม. เป็นปี่ที่พระอภัยมณีใช้สำหรับเป่าให้นางผีเสื้อสมุทร ขาดใจตายนั่นเอง โดยเสียงของปีในจะเป็นเสียงที่ต่ำ และเสียงใหญ่

เครื่องตี


เครื่องตี
เครื่องตีคือ เครื่องดนตรีประเภทนี้จะต้องมีการกระทบกันจึงจะเกิดเสียงดังออกมาและการกระทบกันที่ว่านี้มีหลายวิธี เช่น การตี การเขย่า การเคาะ การตีอาจจะใช้ไม้ตี หรืออาจจะใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เกิดเสียง เครื่องตีกระทบประกอบขึ้นด้วยวัสดุของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ , ไม้ หรือ แผ่นหนังขึงตึง
การตีกลอง
  การตีกลอง อาจใช้ตีด้วยฝ่ามือ และตีด้วยไม้สำหรับตี
    1. กลองแขก    2. กลองชนะ   3. กลองชาตรี    4. กลองตะโพน  5. กลองทัด  6. กลองโมงครุ่ม  7. กลองยาว                   8. กลองสองหน้า9.ระนาดเอก  10.ระนาดทุ้ม  11.ฆ้องวงใหญ่  12.ฉิ่ง  13.ฉาบ 14.กรับคู่   15.กรับพวง  16.กรับเสภา
กลองแขก
            กลองแขกเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีที่มีรูปร่างยาวเป็นรูปทรงกระบอก ขึ้นหนังสองข้างด้วยหนังลูกวัวหรือหนังแพะหน้าใหญ่ กว้างประมาณ 20 ซม เรียกว่า หน้ารุ่ย ส่วนหน้าเล็กกว้างประมาณ 17 ซม เรียกว่า หน้าด่าน ตัวกลองแขกทำด้วยไม้แก่น เช่นไม้ชิงชันหรือไม้มะริด

กลองชนะ
  กลองชนะ หน้าด้านใหญ่กว้างประมาณ ๒๖ ซม. หน้าด้านเล็กกว้างประมาณ ๒๔ ซม. ตัวกลองยาว ๕๒ กลองชนะที่กล่าวนี้เคยมีผู้เขียนเป็น กลองฉณะ คงจะหมายความว่ากลองมหรสพ (ฉณะ แปลว่า มหรสพ)
 
กลองชาตรี
กลองชาตรี เป็นกลองสองหน้า มีรูปร่างเหมือนกลองทัดทุกอย่างแต่ขนาดย่อส่วนเปรียบเหมือนแม่กับลูก กลองชาตรีเป็นลูก มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 20 ซม. และสูง 24 ซม.ใช้เป็นคู่เช่นเดียวกัน ใช้ทำหน้าทับในวงปี่พาทย์เครื่องห้า หรือวงปี่พาทย์ชาตรี ประกอบการแสดงละครโนรา

กลองตะโพน
กลองตะโพนคือตะโพนที่นำมาตีแบบกลองทัด กลองตะโพนใช้ตะโพน 2 ลูก เสียงสูงและเสียงต่ำแล้วนำมาตั้งขึ้นแบบกลองทัด ใช้ไม้ระนาดนวมตี ใช้เล่นในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ นอกจากนี้ยังใช้แทนกลองทัดในวงปี่พาทย์ไม้นวมเมื่อบรรเลงภายในอาคาร เพื่อไม่ให้เสียงดังเกินไป

กลองทัด
กลองทัด เป็นกลองสองหน้าขนาดใหญ่ มีขนาดหน้ากว้างเท่ากันทั้งสองข้าง วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 46 ซม. ตัวกลองยาวประมาณ 41 ซม. กลองทัดมี 2 ลูก ลูกที่มีเสียงสูง ดัง ตุม เรียกว่า ตัวผู้ และ ลูกที่มีเสียงต่ำตีดัง ต้อม เรียกว่า ตัวเมีย ใช้ไม้ตี 1 คู่ มีขนาดยาวประมาณ 54 ซม.

กลองโมงครุ่ม
กลองโมงครุ่ม     เป็นกลองชนิดหนึ่งมีรูปร่างลักษณะอย่างกลองทัด แต่ใหญ่กว่ากลองทัดหน้ากลองกว้างประมาณ ๕๕ ซม. ขึ้นหนัง ๒ หน้า ตรึงด้วยหมุดหนังที่ขึ้นหน้าเขียนลายสีงดงาม และไม่ต้องติดข้าวตะโพนถ่วงเสียงที่หน้ากลอง ตีหน้าเดียวใช้ไม้ตี ใช้ตีในการละเล่นสมัยโบราณที่เรียกว่า โมงครุ่มหรือ โหม่งครุ่มซึ่งมักตีฆ้องโหม่งประกอบด้วย


กลองยาว
กลองยาวเป็นเครื่องดนตรี สำหรับตีด้วยมือ ตัวกลองทำด้วยไม้ มีลักษณะกลมกลวง ขึงด้วยหนังมีหลายชนิด ถ้าทำด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมากใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่ากลองยาวหรือเถิดเทิง

กลองสองหน้า
กลองสองหน้า มีลักษณะคล้ายลูกเปิงมาง แต่ใหญ่กว่า หน้ากลองด้านกว้างเส้นผ่าศูนย์กลาง 21-24 เซนติเมตร ด้านเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 20-22 เซนติเมตร ตัวกลองยาว 55-58 เซนติเมตร ใช้ในวงปี่พาทย์เสภาและใช้ตีประกอบจังหวะการเดี่ยวเครื่องดนตรีต่างๆด้วย

ระนาดเอก
ระนาดเอก ที่ให้เสียงนุ่มนวล นิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ถ้าต้องการ ให้ได้เสียงเกรียวกราว นิยมทำด้วยไม้แก่น ลูกระนาดมี ๒๑ ลูก ลูกที่ ๒๑ หรือลูกยอด จะมีขนาดสั้นที่สุด ลูกระนาด จะร้อยไว้ด้วยเชือกติดกันเป็นผืนแขวนไว้บนราง ด้ามหัวและท้ายโค้งขึ้นเพื่อให้อุ้มเสียง มีแผ่นไม้ปิดหัวและท้ายรางเรียกว่า "โขน" ฐานรูปสี่เหลี่ยมเรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้แข็ง" ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งทำด้วยวัสดุที่นุ่มกว่า ใช้ผ้าพัน แล้วถักด้ายสลับ

ระนาดทุ้ม
ระนาดทุ้ม เลียนแบบระนาดเอก สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลูกระนาดมีจำนวน ๑๗-๑๘ ลูก ตัวลูกมีขนาดกว้างและยาวกว่าของระนาดเอก ตัวรางก็แตกต่าง จากระนาดเอก คือเป็นรูปคล้ายหีบไม้แต่เว้ากลาง มีโขนปิดหัวท้าย มีเท้าอยู่สี่มุมราง ไม้ตีตอนปลายใช้ผ้าพันพอกให้โต และนุ่ม เวลาตีจะได้เสียงทุ้ม

ฆ้องวงใหญ่
ฆ้องวงใหญ่ ขนาดของวงกว้างจากขอบวงในทางซ้ายไปถึงขอบวงในทางขวา กว้างประมาณ ๘๒ ซม. จากด้านหน้าไปด้านหลัง กว้างประมาณ ๖๖ ซม.มีลูกฆ้อง ๑๖ ลูก ลูกเสียงต่ำสุดเรียกว่า ลูกทวน ลูกเสียงสูงสุดเรียกว่า ลูกยอด ไม้ที่ใช้ตีมีสองอัน ผู้ตีถึงไม้ตีมือละอัน 

ฆ้องวงเล็ก
ฆ้องวงเล็ก ขนาดย่อมกว่าฆ้องวงใหญ่เล็กน้อย วัดจากขอบวงด้านซ้ายมือถึงขอบวงในด้านขวา กว้างประมาณ ๘๐ ซม. จากด้านหน้าไปด้านหลัง๖๐ ซม. เรือนฆ้องสูง ๒๐ ซม. วงหนึ่งมีจำนวน ๑๘ ลูก 

ฉิ่ง
ฉิ่ง เป็นเครื่องตีทำด้วยโลหะ หล่อหนา เว้ากลาง ปากผายกลม ๒ ฝา แต่ละฝาวัดผ่านศูนย์กลางจากสุดขอบข้างหนึ่งไปสุดขอบอีกข้างหนึ่งประมาณ ๖ ซม. ถึง ๖.๕ ซม. เจาะรู ตรงกลางเว้าสำหรับร้อยเชือก ใช้สำหรับ ประกอบวงปี่พาทย์ ส่วนฉิ่งที่ใช้สำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรี มีขนาดเล็กกว่านั้น คือ วัดผ่านศูนย์กลาง เพียง ๕.๕ ซม. สำหรับใช้ในวงดนตรีประกอบการขับร้องฟ้อนรำและการแสดงนาฏกรรม โขน ละคอน
 
ฉาบ
 ฉาบเป็นเครื่องตีอีกชนิดหนึ่งทำด้วยโลหะเหมือนกัน รูปร่างคล้ายฉิ่งแต่หล่อบางกว่าฉิ่ง มี ขนาดใหญ่กว่าและกว้างกว่าตอนกลางมีปุ่มกลม วางลงขอบนอกแบ ออกราบโดยรอบและเจาะรูตรงกลางกระพุ้งเพื่อไว้ร้อยเส้นเชือก

กรับคู่
ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก เหลาให้เรียบและเกลี้ยงอย่าให้มีเสี้ยน มีรูปร่างแบนตามซีกไม้ไผ่ หนาตามขนาดของเนื้อไม้ยาวประมาณ 40 ซม ทำเป็น 2 อันหรือเป็นคู่ ใช้ตีให้ผิวกระทบกันทางด้านแบนเกิดเป็นเสียง กรับ
 
กรับพวง
เป็นกรับชนิดหนึ่งตอนกลางทำด้วยไม้บางๆหรือแผ่นทองเหลือง หรืองาหลายๆอันและทำไม้แก่น 2 อันเจาะรูตอนหัวร้อยเชือกประกบไว้ 2 ข้างเหมือนด้ามพัด เวลาตีใช้มือหนึ่งถือตรงหัวทางเชือกร้อย แล้วฟาดลงไปบนอีกฝ่ามือหนึ่ง เกิดเป็นเสียงกรับขึ้นหลายเสียง

กรับเสภา
ทำด้วยไม้แก่น เช่นไม้ชิงชัน ยาวประมาณ 20 ซม หนาประมาณ 5 ซม เหลาเป็นรูป 4 เหลี่ยมแต่ลบเหลี่ยมออกใช้บรรเลงประกอบในการขับเสภา เวลาบรรเลงผู้ขับเสภาจะใช้กรับเสภา 2 คู่ รวม 4 อัน ถือเรียงกันไว้บนฝ่ามือของตนข้างละคู่ กล่าวขับเสภาไปพลาง มือทั้ง 2 ข้างก็ขยับกรับแต่ละข้างให้กลอกกระทบกันเข้าจังหวะ กับเสียงขับเสภา จึงเรียกกรับชนิดนี้ว่า กรับเสภา